รากฟันเทียม
เพื่อทดแทนฟันที่สูญเสียไป
การทำรากฟันเทียม (Dental Implant) เพื่อทดแทนฟันที่สูญเสียไป แบบธรรมชาติให้ความรู้สึกใกล้เคียงกับฟันธรรมชาติมากที่สุด ซึ่งจะไม่มีผลข้างเคียงที่จะทำให้เกิดอันตรายในการปลูกรากฟันเทียม จำเป็นต้องเป็นทันตแพทย์ผู้ให้การรักษาทันตกรรมรากเทียม
ในการรักษาทันตแพทย์จะทำการฝังรากเทียม ลงไปในกระดูกขากรรไกร เพื่อให้กระดูกยึดติดกับตัวรากเทียม ซึ่งตัวรากเทียมนี้จะช่วยรองรับการใส่ฟันแบบติดแน่น หรือแบบถอดได้ ทำให้สามารถใช้งานบดเคี้ยวอาหารได้อย่างมีประสิทธิภาพเสมือนฟันธรรมชาติ ปัจจุบันการใส่รากฟันเทียมถือว่าเป็นวิธีที่ดีที่สุดวิธีหนึ่ง
- รากฟันเทียม คืออะไร
- ประเภทของรากฟันเทียม
- ราคารากฟันเทียม
- ขั้นตอนการใส่รากฟันเทียม
- ข้อดี-ข้อเสียรากฟันเทียม
- เทคโนโลยีในการทำรากฟันเทียม
- ทันตแพทย์ผู้ให้การรักษาทันตกรรมรากเทียม
- รีวิวจากคนไข้จริง
- ภาพการรักษาคนไข้จริง Before/After
- สรุป
รากฟันเทียม (Dental Implant)
การสูญเสียฟันแท้ไปสามารถส่งผลต่อระบบการบดเคี้ยวโดยรวมได้มากกว่าที่คิด ทำให้เราต้องปรับตัวในการกินอาหารในการพูดคุย ในการทำ รากฟันเทียมหรือ รากเทียม คือฟันปลอมที่ติดแน่น ฝังเข้าไปในกระดูกขากรรไกร เพื่อใช้ทดแทนรากฟันธรรมชาติและให้ความรู้สึกใกล้เคียงกับฟันธรรมชาติมากที่สุด ซึ่งทำให้ผู้ที่สูญเสียฟันธรรมชาติไป เมื่อใส่รากฟันเทียมแล้ว สามารถใช้ฟันบดเคี้ยวอาหารได้เสมือนฟันธรรมชาติ พูดคุย หรือยิ้มได้อย่างมั่นใจ
ปรึกษาฟรี! แอดเลย
ส่วนประกอบรากเทียม มี 3 ส่วนดังนี้
- ส่วนรากเทียมที่ฝังลงไปในกระดูก (Fixture) คือ ส่วนที่ทำหน้าที่เช่นเดียวกับรากฟัน และเป็นส่วนที่ยึดอยู่ในกระดูกขากรรไกร ปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งที่จะทำให้การรักษารากเทียมได้สำเร็จ คือ ปริมาณและคุณภาพของกระดูกรองรับรากเทียม
- ส่วน Abutment คือ ส่วนยึดต่อระหว่าง implant body และส่วนทันตกรรมประดิษฐ์ทำจากไททาเนียมหรือเซรามิค ส่วนที่ต่อขึ้นมาจาก ส่วนราก Fixture เพื่อรองรับครอบฟันที่จะมาใส่ มักยึดกับส่วน Fixture ด้วย Screw
- ส่วนครอบฟัน (Crown) เป็นส่วนที่ยึดกับ Abutment มีรูปร่างเหมือนฟันธรรมชาติเเละใช้สำหรับบดเคี้ยวอาหาร
ขั้นตอนการรักษารากฟันเทียม
ทันตแพทย์จะตรวจภายในช่องปาก สแกนฟัน หรือพิมพ์ปาก พร้อมทั้งถ่ายภาพ x-ray และ CT Scan เพื่อให้เห็นลักษณะกระดูก บริเวณที่จะฝังรากฟันเทียม และวางแผนการรักษา
ฝังรากเทียมลงบนกระดูกขากรรไกร รอให้กระดูกยึดกับ รากฟันเทียมประมาณ 2-4 เดือน ระหว่างที่รอสามารถใส่ฟันปลอมชั่วคราวได้ ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของ ทันตแพทย์และความต้องการของคนไข้
ใส่ครอบบนรากฟันเทียม ซึ่งครอบบนรากฟันเทียมจะมีสีใกล้เคียงฟันซี่ข้างเคียง ทำให้ผู้อื่นไม่รู้ว่าใส่ฟันปลอมอยู่
ประเภทของรากฟันเทียม
การฝังรากฟันเทียมสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ การฝังรากฟันเทียมแบบทั่วไป และการฝังรากเทียมภายหลังการถอนฟันแบบทันที
ทันตแพทย์ผู้ให้การรักษาทันตกรรมรากเทียมจะประเมินสภาพกระดูก ประกอบกับการวินิจฉัยผ่านเอ็กเรย์ หรือภาพเอ็กซเรย์ 3 มิติ (CT SCAN) เพื่อให้การรักษาที่เหมาะสมและดีที่สุดกับคนไข้
การฝังรากฟันเทียมแบบทั่วไป
เป็นวิธีที่นิยมทำกันโดยทั่วไป สามารถทำได้เกือบทุกกรณี การฝังรากฟันเทียมชนิดนี้เพื่อทดแทนฟันที่สูญเสียไปเพียงซี่เดียว หลายซี่ หรืออาจจะฝังรากฟันเทียมทั้งปาก
โดยปกติแล้วการฝังรากฟันเทียมแบบทั่วไปนั้น จะแบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอน แต่ละขั้นตอนห่างกันประมาณ 2-6 เดือน
บางกรณีที่คนไข้กระขากรรไกรมีความบางกว่าปกติ หรือมีการสูญเสียกระดูกบริเวณที่จะทำหารฝังรากฟันเทียม ทันตแพทย์อาจพิจารณาให้ปลูกกระดูกก่อนรับการฝังรากฟันเทียม เพื่อให้กระดูกบริเวณนั้นมีความหนาและแข็งแรงพอรองรับการฝังรากฟันเทียม
อ่านเพิ่มเติม: วิธีการปลูกรากฟันเทียมแบบทั่วไป
การฝังรากเทียมแบบทันที
One day implants คือ การฝังรากเทียมภายหลังการถอนฟันทันที ซึ่งในบางกรณีคนไข้อาจสามารถใส่ครอบ หรือสะพานฟันบนรากฟันเทียมได้เลยด้วย โดยส่วนใหญ่แล้วการฝังรากฟันเทียมแบบทันทีจะเหมาะกับคนไข้ที่มีกระดูกขากรรไกรที่ดีเท่านั้น
อ่านเพิ่มเติม: รากฟันเทียมแบบมีฟันทันที
การฝังรากฟันเทียมแบบพร้อมครอบฟันทันที
สามารถทำร่วมกับการฝังรากฟันเทียมแบบทั่วไป และ การฝังรากฟันเทียมแบบทันทีได้เป็นการใส่ครอบฟัน หรือ สะพานฟัน ทั้งแบบชั่วคราวและแบบถาวรลงบนรากฟันเทียม
อ่านเพิ่มเติม: การฝังรากฟันเทียมแบบทันทีพร้อมครอบฟัน
ใครที่สามารถทำรากฟันเทียมได้
- ผู้ที่สูญเสียฟันแท้ หนึ่งซี่ หรือหลายๆซี่
- คนไข้ที่มีปริมาณกระดูกเพียงพอต่อการฝังรากเทียม หรือสามารถผ่าตัดเสริมกระดูกได้
- ผู้ที่มีกระดูกขากรรไกรหยุดการเจริญแล้ว
- คนที่มีสุขภาพเนื้อเยื่อและเหงือกที่ดี
- คนไข้ที่ไม่มีภาวะที่ส่งผลต่อการหายของแผลในเนื้อกระดูก
- ไม่สามารถใช้ฟันเทียมถอดได้
ภาพตัวอย่างการรักษาการฝังรากฟันเทียม
บทความอ้างอิง
บทความ
Lorem ipsum dolor sit amet consectetur. Justo mauris mattis dictum tincidunt id
eget vitae malesuada. Eu sed tellus sit vehicula vitae magnis nunc.